ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Maesariang Industrial and Community Education College
วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง เป็นสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๑๑ หมู่ที่ ๗ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ ๕๘๑๑๐ ห่างจากตัว อำเภอแม่สะเรียง ๖ กิโลเมตร โดยที่ด้านหน้าติดกับทางหลวง หมายเลย ๑๐๕ สายแม่สะเรียง – แม่สอด ทางด้านทิศเหนือติดกับหมู่บ้านหนองผักหนาม ทางด้านทิศใต้ติดกับพื้นที่ของเอกชน ทางด้านหลังมีสภาพเป็นป่าโปร่งบนเนินเขา โดยได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนจำนวน ๕๓ ไร่ ๒ งาน ๑๔ ตารางวา
สีฟ้า- ขาว
ต้นทองกวาว
“ ทักษะดี มีวินัย ใฝ่การศึกษา พัฒนาความคิด มีจิตคุณธรรม ”
ฝึกอาชีพสู่ชุมชน บนพื้นฐานวัฒนธรรมหลากหลาย
สุภาพอ่อนน้อม พร้อมจิตอาสา
๑. พระธาตุจอมทอง
๒. พระธาตุจอมแจ้ง
๓. พระธาตุจอมมอญ
๔. พระธาตุจอมกิตติ
ซึ่งองค์พระธาตุ ทั้ง ๔ องค์จะตั้งอยู่ ทั้ง ๔ ทิศ หรือ ๔ มุมเมือง ของอำเภอแม่สะเรียงจะเรียกว่า จอม หมายถึงที่สูง
๑. พระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออก
๒. พระธาตุจอมแจ้ง ตั้งอยู่ทางทิศ เหนือ
๓. พระธาตุจอมมอญ ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันตก
๔. พระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่ทางทิศ ใต้
ซึ่งพระธาตุ ทั้ง ๔ องค์ นี้ เป็นที่ศูนย์รวมจิตใจของชาวอำเภอแม่สะเรียง ซึ่งนับถือ ศาสนาพุทธ และใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธี ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เป็นดอกกล้วยไม้ประจำถิ่นของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นดอกไม้ประจำอำเภอแม่สะเรียงในสมัยโบราณ ดอกเอื้องแซะ เป็นเครื่องสักการะชั้นสูง เป็นเครื่องบรรณาการที่จะต้องนำส่งแด่เจ้ามหาชีวิต เจ้าเมืองเชียงใหม่ หรือกษัตริย์ผู้ครองล้านนาแทนการเกณฑ์แรงงาน เป็นของสูงค่าจากผืนป่าสู่คุ้มหลวงแลหอคำอย่าหมายว่าจะได้ยลดู
ปัจจุบัน ดอกเอื้องแซะ ได้กลายเป็นพิธีที่มีศักยภาพและสามารพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ด้วยการนำเอาดอกเอื้องแซะมาสกัดทำเป็นน้ำหอม ดังนั้น จึงเกิดโครงการในพระราชดำริ และพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง ให้ทำการแปรรูปกล้วยไม้เอื้องแซะหอม เพื่อนำมาผลิตน้ำหอม
ผ้าทอกะเหรี่ยงชาวปะกากะญอ ชาวปะกากะญอหรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาวอายุ ๑๒-๑๕ ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้ สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าลือมาว่าได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็จะทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ ๗ วัน ทอได้ ๗ ลาย แต่ลายที่นำมาทอและปักมี ๔ ลาย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลย ฉุ่ยช่อล่อ อีกลายคือ ลายทีข่า ปัจจุบันยังมีลายที่นิยมทอ คือ ลายเกอแนเดอ และเชอกอพอ หรือลายดอกมะเขือ
การทอผ้าเป็นอีกวิถีอีกอย่างหนึ่ง ของชาวปะกากะญอที่สืบทอดกันมายาวนาน เด็กผู้หญิงจะเรียนรู้จากแม่ของพวกเธอแต่ปัจจุบันนี้มีระบบโรงเรียนเด็กๆ ต้องไปโรงเรียน ดังนั้น ในช่วงปิดเทอม เด็กๆ จึงรวมกลุ่มกันมาเรียนการทอผ้าเป็นภาพที่น่าประทับใจอีกอย่างหนึ่ง
พระธาตุ ๔ จอม ดอกเอื้องแซะและผ้าทอกะเหรี่ยง ยังปรากฏในคำขวัญของอำเภอแม่สะเรียง คือ
เทียนเหงพร่างตา ผ้าทอกะเหรี่ยง
เสนาะเสียงสาละวิน งามถิ่นธรรมชาติ
พระธาตุสี่จอม กล้วยไม้หอมเอื้องแซะ
ที่มาข้อมูลจาก :
https://mild๗๗. wordpress.com ประวัติอำเภอแม่สะเรียง
https://information๕๗.๖๑ogspot.com ผ้าทอกะเหรี่ยง ชาวปะกากะญอ
เสมาธรรมจักร หมายถึง ความดีงาม
บัลลังก์สิงห์ หมายถึง ความมั่นคง
ศิระประภา (รัศมีเปลวพระพุทธรูป) ใต้เสมาธรรมจักร หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา
ตัวเลข ๑ (ในรัศมีเปลว) หมายถึง ความล้ำเลิศแห่งปัญญา
ดอกบัวที่บานพ้นน้ำ (ด้านข้างทั้งสอง) หมายถึงการเกิดปัญญา
กนกเปลว (ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเปลวไฟ) หมายถึง ความสว่างไสว โชติช่วงตลอดเวลา
อักษร ทุ.ส.นิ.ม. (ด้านล่างย่อมาจาก องค์ประกอบของอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) หมายถึงความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
เส้นโค้งโดยรอบ มีอักษร “วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง” ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ความหมายรวมของตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง คือ
ความล้ำเลิศทางปัญญา ตั้งอยู่บนรากฐานที่มั่นคงและดีงาม โอบล้อมด้วยความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และความสว่างไสวโชติช่วงของปัญญา ที่ได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
เป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้และฝึกอบรมวิชาชีพสู่สังคมอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาและยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนและการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา
๒. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการเรียนและการฝึกอบรมอาชีพทุกระดับ
๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาและการจัดการศึกษาวิชาชีพ
๔. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นคนดี คนเก่งมีจิตอาสาและมีความสุข
๕. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนให้สถานศึกษา
๑. ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ
๒. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน
๓. การจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี
๔. ส่งเสริมการออกให้บริการวิชาการและวิชาชีพสู่ชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕. ส่งเสริมการหารายได้ระหว่างเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
MAESARIANG INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLAGE
© 2023, Maesariang Industrial and Community Education Collage
All right reserved.
Sign in to your account